วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำศัพท์ เกี่ยวกับสนามบิน


คำศัพท์เกี่ยวกับการเดินทางโดยใช้เครื่องบิน
1. GATE  :  ประตูเข้าออกระหว่างอาคารและเครื่องบิน
2. FLIGHT :  เที่ยวบินของสายการบิน
3. INTERNATIONAL FLIGHT  :  สายการบินระหว่างประเทศ
4. DOMESTIC FLIGHT   :  สายการบินภายในประเทศ
5. CONNECT FLIGHT     :  การต่อเที่ยวบิน
6. PASSENGER :  ผู้โดยสารสายการบิน
7. TRANSIT PASSENGER             :   ผู้โดยสารที่แวะลมสนามบินแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อทำการ เปลี่ยนเครื่องโดยไม่แวะเข้าอยู่ในประเทศหรือเมืองนั้นๆ
8. BOARDING PASS       :  เอกสารระบุเลขที่นั่งใช้สำหรับผ่านเข้าเขตผู้โดยสารขาออกและขึ้นเครื่องบิน
9. SMOKING AREA :  ที่นั่งในเครื่องบินที่อยู่ในเขตที่สามารถสูบบุหรี่ได้ หรือ หมายถึงบริเวณที่ถูกจัดให้เป็นที่สูบบุหรี่ได้ภายในอาคารหรือสนามบิน
10. NON-SMOKING AREA           :  ที่นั่งในเครื่องบินที่อยู่ในเขตที่ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้หรือหมายถึง บริเวณทั่วไปที่อยู่ภายในอาคารสนามบินที่ไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่
11. PORT OF ENTRY       :  ด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านแรกที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกา
12. IMMIGRATION OFFICER   :  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ทำการตรวจเอกสารวีซ่า
13. CUSTOM      :  ศุลกากร ทำหน้าที่ตรวจเช็ก สัมภาระที่นำติดตัวเข้าประเทศ
14. AIRPORT LIMOUSINE/BUS :  รถของสนามบินพาเข้าไปส่งที่สถานสำคัญ ๆ หรือโรงแรมใหญ่ ๆ ในตัวเมืองหรือสถานีรถโดยสารประจำทาง
15. TERMINAL  :  ตัวอาคารในสนามบินที่มีสถานที่ทำการของบริษัทสายการบินต่าง ๆ ตั้งอยู่ และมีสถานปฏิบัติการที่สำคัญที่ส่งข่าวเกี่ยวกับการบิน เช่น หอบังคับการบิน ในสหรัฐอเมริกา สนามบินแต่ละแห่งกว้างใหญ่มากจึงแบ่ง TERMINAL ออกเป็นเขตๆ คือ A B C D หรือ 1 2 3 4 และแต่ละเขตจะมีที่ทำการของบริษัทการบินที่ตกลงกันไว้ตั้งอยู่
16. RESERVATION CODE            :  รหัสบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารในการเดินทางครั้งหนึ่งๆ
17. VOUCHER   :  เอกสารสำหรับได้รับบริการฟรีที่ไม่ต้องเสียเงิน บริการฟรีนั้นอาจเป็นด้านโรงแรม หรือบริการรถรับส่งระหว่างโรงแรมกับสนามบิน แล้วแต่สายการบินจะให้ผู้โดยสาร ในบางกรณี อาจหมายถึงเอกสารการจองโรงแรมล่วงหน้า ที่ชำระเงินล่วงหน้าไว้เรียบร้อยแล้ว
18. BAGGAGE CLAIM AREA      : บริเวณรับกระเป๋าเดินทางที่สนามบินปลายทาง ในบางแห่งหมายรวมถึงจุดแจ้งกระเป๋าเดินทางหาย
19. LOST AND FOUND  : จุดแจ้งกระเป๋าเดินทางหาย
20. CAROUSEL : สายพานหรือรางเลื่อนรับ/ส่ง กระเป๋า
21. FREE AIRPORT SHUTTLE     : รถรับส่งระหว่าง TERMINAL ภายในสนามบินที่ให้บริการฟรี

5 อันดับสนามบินที่ดีที่สุด...


1.Singapore Changi Airport (สนามบินชางงีสิงคโปร์)

นับตั้งแต่เริ่มมีการโหวตสนามบิน น่านอนหรือ ดีที่สุดสำหรับการนอนรอขึ้นเครื่องเมื่อ 12 ปีก่อน ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่เคยมีสนามบินใดล้มแชมป์ความน่านอนของสนามบินชางฮีลงได้
ทุกครั้งที่นักเดินทางมาเยือนสนามบิน แห่งนี้ จะต้องรู้สึกแฮปปี้เมื่อได้พบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทางสนามบินเตรียมไว้ให้ใน คลับชางฮีไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้สำหรับนอนงีบที่แสนสะดวกสบาย และได้รับการออกแบบขึ้นเป็นพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการนอนรอขึ้นเครื่อง (หรือนอนค้าง) โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ ยังมีอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ห้องสวดมนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร สระว่ายน้ำ จากุชชี่ สปา วิดีโอเกมส์ บริการ WiFi และอินเตอร์เน็ตฟรี ชมภาพยนตร์ฟรี บริการนำเที่ยวแบบซิตี้ทัวร์ฟรี บริการนวดตลอด 24 ช.ม.  เท่านั้นยังไม่พอ ภายในสนามบินยังกล่าว ยังมีบิสสิเนส เซ็นเตอร์ที่เปิดบริการตลอด 24 ช.ม. มีการบรรเลงดนตรีสด  มิวสิค เลาน์จ คาราโอเกะ และสวนหย่อมอีก 6 สวน พร้อมมุมสงบสำหรับนอนพักผ่อนอย่างเป็นกิจลักษณะ (napping corner)
นักเดินทางบางกลุ่มถึงกับแนะนำว่า ถึงแม้จะมีสตางค์เหลือเฟือก็น่าจะลองนอนค้างที่สนามบินชางฮีดูสักครั้ง เพราะที่นั่นทั้งสะดวกสบาย สะอาด เงียบสงบ และยังปลอดภัยสุดๆ

 





2.Incheon International Airport (สนามบินนานาชาติอินชอน – ประเทศเกาหลีใต้)
อินชอน เป็นอีกสนามบินที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักเดินทางเป็นอย่างดี และที่นักเดินทางต่างชาติชื่นชอบก็คือบริเวณ ศูนย์วัฒนธรรมภายในสนามบิน ซึ่งที่นั่นคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมขนานแท้และ ดั้งเดิมของชาวเกาหลี
ที่สำคัญภายในสนามบินอินชอนยังสะอาด สะอ้าน แถมเก้าอี้และเบาะนั่ง (นอน) ก็สะดวกสบาย มิหนำซ้ำยังมี “Jjimjilbang” (อ่างน้ำร้อน ฝักบัว ซาวน่า) ไว้คอยบริการ อุณหภูมิภายในสนามบินก็กำลังเหมาะ มีไฟสลัวในมุมที่เหมาะสม (มุมพักผ่อน)  ทั้งยังมีโทรศัพท์ พร้อมอินเตอร์เน็ต และ WiFi ไว้คอยบริการ
3.Hong Kong International Airport (สนามบินนานาชาติฮ่องกง)
ที่สนามบินฮ่องกง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกจ่ายค่าบริการพิเศษสำหรับนอนพัก ทานอาหาร ดูทีวี เช็คอีเมล์ ภายในมุมสงบที่จัดเตรียมไว้ให้เป็นพิเศษ ซึ่งมีอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ห้องน้ำสะอาด หรือจะเลือกใช้บริการ “Travellers Lounges” แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีมุมบริการอินเตอร์เน็ตฟรี พร้อม WiFi ตลอดจน ทีวี ม้านั่งยาว เก้าอี้ตัวใหญ่ ห้องอาบน้ำ และมุมสำหรับเด็กไว้คอยบริการ
แต่ข้อเสียก็คือ สนามบินแห่งนี้มักมีเสียงประกาศหนวกหูในเวลากลางคืน และอาจต้องเตรียมเสบียงเอาไว้บ้าง เพราะศูนย์อาหารและร้านขายเครื่องดื่มจะปิดบริการในเวลากลางคืน
4.Munich Airport (สนามบินมิวนิค -ประเทศเยอรมันนี)

สนามบินมิวนิค ไม่เพียงมีระบบบริหารจัดการภายในสนามบินที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของประเทศเยอรมนี หากยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดเตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินระหว่างรอขึ้นเครื่องมากมายสมกับ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นสนามบินดีที่สุดสำหรับการต่อเครื่องของฝั่งยุโรป ประจำปี 2009
นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเช่น เดียวกับที่มีในสนามบินชั้นนำทั่วโลกแล้ว สนามบินแห่งนี้ยังมีบริการรถบัสและไกด์นำชมพื้นที่ต่างๆ ภายในสนามบินกว่า 40 จุดโดยต้องเสียค่าเข้าชม บริการชมภาพยนตร์ฟรี และยังมีสนามซ้อมพัตต์กอล์ฟ 18 หลุมไซส์มินิ ให้ทดสอบทักษะและสมาธิฆ่าเวลาอีกด้วย



5.Kuala Lumpur International Airport (สนามบินนานาชาติประเทศมาเลย์เซีย)


       ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (มาเลย์: Lapangan Terbang Antarabangsa Kuala Lumpur) ตั้งอยู่ที่เขตเซปัง รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก และแอร์เอเชีย
         มีแนวความคิดในการวางผัง คือ "ท่าอากาศยานในป่า ป่าในท่าอากาศยาน" ท่าอากาศยานได้ผนวกเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สีเขียว และสิ่งแวดล้อมเข้าในส่วนของการออกแบบ ได้แก่ สวนป่าภายในอาคารผู้โดยสาร และที่จอดรถที่ถูกคลุมด้วยสวนหลังคา การเชื่อมโยงอาคารผู้โดยสารสองหลังด้วยรถไฟความเร็วสูง (Aerotrain)

10 อันดับสายการบินที่ดีที่สุด...

รายงาน!!

เครดิต - http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=travelsomewhere&month=02-08-2010&group=29&gblog=19





+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


มาดูกันเลยดีกว่าครับว่าผลการสำรวจปี 2010 นี้จะเป็นอย่างไร




10. Malaysia Airlines










Although it fell one spot from last year, it was given top prizes for "Best Economy Class" and "Staff Service Excellence in Asia."

มาเลเซ๊ยแอร์ไลน์ ปีนี้ตกลงไปหนึ่งอันดับจากปีที่แล้ว แต่ไดรับการ vote ให้ชนะเลิศในด้านชั้นประหยัด (Best Economy Class)







9. Thai Airways
















This airway (with the smallest fleet on the list) moved up from last year. Customers rave over its Bangkok airport lounge, which has a grand piano, massages and never-lacking bar.

สายการบินไทย ปีนี้ขยับอันดับขึ้นมาหน่อย และได้รับการ vote ให้ชนะเลิศในด้านการบริการที่แอร์พอร์ทด้วย (Best Airport services).







8. Emirates


















Despite dropping three spots from last year, the Emirates is considered to have the best in-flight entertainment for the sixth year in a row

อิมิเรทแอร์ ตกลงมาสามอันดับจากปีที่แล้ว แต่อิมิเรทก็ได้รับการเลือกให้ชนะเลิศในด้านการบันเทิงบนเครื่อง (Best Inflight Entertainment)








7. Qantas












Australia's oldest and largest airline continues its fall from the top, when it held second place in 2005.

สายการบินเก่าแก่ของออสเตรเลีย หล่นลงมาเรื่อยๆจากอันดับต้นๆ ที่เคยได้อันดับที่ 2 ในปี 2005 แต่ก็ยังชนะเลิศด้านความนิยมในชั้นประหยัด (Best Premium Economy Class).







6. Etihad Airways



















The Abu Dhabi-based airline received a leading spot in the first-class cabin and catering categories.

สายการบินน้องใหม่ของประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรท (UAE) ซึ่งมีฐานอยู่ที่อาบูดาบี ปีนี้ชนะเลิศในด้านชั้นหนึ่ง (Best First Class).








5. Air New Zealand











Voted "Best Carrier in Australia/Pacific," this carrier jumped three spots from last year.

แอร์นิวซีแลนด์ กระโดดขึ้นมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว และได้รับการ vote ให้เป็นสายการบินชั้นยอดของกลุ่มออสเตรเลีย/แปซิฟิค (Best Airline : Australia / Pacific)








4. Cathay Pacific











As last year’s winner, Cathay Pacific’s fall has been attributed to its run-of-the-mill Economy Class. Still, it won "Best Transpacific Airline."

คาเท่ย์แปซิฟิค ของฮ่องกง ซึ่งเคยได้รับการโวทให้ได้รางวัลชนะเลิศเมื่อปีที่แล้ว แต่อันดับตกลงโดยให้เหตุผลว่าขาดการปรับแต่งในห้องผู้โดยสารชั้นประหยัด (run-of-the-mill Economic Class) แต่ก็ยังชนะเลิศในทรานแปซิฟิคแอร์ไลน์ ( Best Airline : Tranpacific)






3. Qatar Airways

















After redoing the interiors and improving service, Qatar Airlines has been steadily ascending the ranks. It was also voted to have the best food in Business Class.

กาตาร์แอร์เวย์ หลังจากที่ปรับปรุงภายในและการบริการแล้ว ก็ได้รับการโวทดีขึ้นเรื่อยๆ และปีนี้ชนะเลิศในเรื่องอาหารในชั้นธุรกิจด้วย (Best Business Class).







2. Singapore Airlines

















Known for its consistent service and plush seats, Singapore Airilnes nabbed second place for the second year in a row. It was also awarded, "World’s Best Cabin Staff," "Best Business Class Seat," and "Best Airline in Southeast Asia."

สิงคโปร์แอร์ไลน์ มีชื่อเสียงในเรื่องการบริการและเบาะที่นั่งที่ดี (เป็นกำมะหยี่) แต่ก็ยังถูกโวทให้อยู่อันดับที่ 2 อีกปี แต่สิงคโปร์แอร์ไลน์ยังได้รับการโวทให้ชนะเลิศถึง 3 ด้านด้วยกัน คือ พนักงานบนเครื่องที่ดีที่สุดในโลก (Wolld's Best Cabin Staff), ที่นั่งชั้นธุรกิจดีที่สุด ( Best Business Class Seat), และเป็นสายการบินที่ดีที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Best Airline in Southeast Asia).






1. Asiana Airlines




















South Korea’s second-largest airline overthrew last year’s winner, Cathay Pacific (#4). On Asiana customers enjoy delectable Korean meals, wide-ranging in-flight entertainment and, most remarkably, flight attendants who can perform magic tricks.

เอเซียน่า สายการบินใหญ่อันดับ 2 ในเกาหลีใต้ ที่สามารถล้มยักษ์อย่างคาเท่ย์แปซิคฟิคที่ชนะเลิศในปีที่แล้วได้ ลูกค้าชาวเอเชียชื่นชอบอาหารเกาหลีบนเครื่องมาก มีบริการความบันเทิงมากมายบนเครื่อง และที่น่าทึ่งคือพนักงานต้อนรับบนเครื่องสามารถทำ magic tricks (ไม่รู้ว่าเธอทำอะไร อาจจะน่ารักมากกว่า.. จขบ.)


..หลายๆสายการบินที่ว่ามา จขบ.ว่าสูสีกัน อย่างสิงค์โปร์สมัยนี้น่าจะเทียบได้ตอนการบินไทยเป็นดาวรุ่ง คือเมื่อก่อนเรามีอย่างไร เดี๋ยวนี้บนเครื่องสิงคโปร์ก็มีแบบนั้น.... คาเท่ย์ เอเซียน่า อิมิเรท ก็สุดยอดทั้งนั้นครับ ส่วนสายการบินอื่น จขบ.ไม่แน่ใจเพราะสัมผัสน้อย....ใครเห็นต่างอย่างไร ก็เอามาแชร์กันนะครับ..




ที่มา : 
http://www.nydailynews.com/money/2010/05/27/2010-05-27_worlds_top_10_airlines_skytraks_2010_awards_announced.html(online July31, 2010)
http://www.worldairlineawards.com/main/2010Awards.htm (Online July 31, 2010)

ขอบคุณภาพสวยๆ จากเวปไซต์






ขอบคุณที่ตามอ่านครับ







__________ END __________